การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
1.การแยกตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามในรูปผลคูณของพหุนามที่มีดีกรี
ต่ำกว่าตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป
2. การแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติแจกแจง
ทำได้โดยการนำตัวประกอบร่วมของทุกพจน์
ของพหุนามเขียนแยกออกมาหน้าวงเล็บ
เช่น
10x5y2 – 12x2y6 = 2x2y2(5x3 – 6y4)
ตรวจสอบการแยกตัวประกอบทำได้โดยการคูณแจกแจง แล้วผลคูณเท่ากับพหุนามเดิม
2x2y2(5x3 - 6y4) = (2x2y2)(5x3) + (2x2y2)(-6y4) = 10x5y2 – 12x2y6
3.พหุนามซึ่งเขียนในรูปทั่วไป
x2 +
bx + c
สามารถแยกตัวประกอบได้ในรูป (x
+ m)(x + n)โดย m + n = b และ m n = c
เช่น x2 – 3x – 10 = (x - 5)(x + 2)
เช่น x2 – 3x – 10 = (x - 5)(x + 2)
4.พหุนามในรูปกำลังสองสมบูรณ์ คือ พหุนามที่เขียนในรูป
หน้า2 + 2(หน้า)(หลัง) + หลัง2 หรือ หน้า2 – 2(หน้า)(หลัง) + หลัง2
เช่น x2 + 8x + 16 = x2 + 2(x)(4)
+ 42
x2 – 10x + 25 = x2 – 2(x)(5) + 52
สามารถแยกตัวประกอบของกำลังสองสมบูรณ์โดยใช้สูตร
หน้า2 + 2(หน้า)(หลัง) + หลัง2 = (หน้า + หลัง)2
A2 – 2AB + B2 = (A - B)2
หน้า2 – 2(หน้า)(หลัง) + (หลัง)2 = (หน้า - หลัง)2
5. พหุนามในรูปผลต่างกำลังสอง คือ พหุนามซึ่งเขียนในรูป
หน้า2 – หลัง2
เช่น x2 – 121 = x2 - 112
สามารถแยกตัวประกอบผลต่างกำลังสองโดยใช้สูตร
A2 – B2 = (A + B)(A
- B)
หน้า2 – หลัง2 = (หน้า + หลัง)(หน้า - หลัง)
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสอง
1. พหุนามในรูปผลบวกกำลังสาม คือ พหุนามที่เขียนในรูป
หน้า3 + หลัง3
เช่น x3+8 = x3+23
เช่น x3+8 = x3+23
สามารถแยกตัวประกอบโดยใช้สูตร
A3 + B3 = (A + B)(A2 – AB + B2)
หน้า3 + หลัง3 = (หน้า + หลัง)(หน้า2 – หน้าหลัง
+ หลัง2)
2. พหุนามในรูปผลต่างกำลังสาม คือ พหุนามที่เขียนในรูป
หน้า3 - หลัง3
เช่น X3 – 1,000 = X3 – 103
หน้า3 - หลัง3
เช่น X3 – 1,000 = X3 – 103
สามารถแยกตัวประกอบโดยใช้สูตร
A3 - B3 = (A - B)(A2 + AB + B2)
หน้า3 – หลัง3 = (หน้า - หลัง)(หน้า2 + หน้าหลัง
+ หลัง2)
3. ทฤษฎีเศษเหลือ คือ ทฤษฎีที่ใช้ในการคำนวณหาเศษของการหารพหุนาม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg3JHjZ2oB5TcS1LZM7E2ROp8NVMsXW5ucLzM0gWJ83XEuErkt45sqZJZ-9F43c5rPRpVP05MOo1Md76WcuecrhPE-fkfMfKF0RiZvmoaXrQjay5l3-3EhynGPNQurKglEb6yHhTZIB1UU/s1600/images.jpg)
เช่น การหาร x2 + 2x + 6 ด้วย x – 3
x – a = x – 3 → a = 3
หาเศษจากการหารโดยนำ 3 แทนค่าเป็น x
P(x) = x2 + 2x + 6
P(3) = 32 + (2)(3) + 6 = 21
หรือ การหาร 3x2 + 2x + 1 ด้วย x + 1
x – a = x – (-1) → x = -1
หาเศษจากการหารโดยนำ –1 แทนค่าเป็น
x
P(x) = 3x2 + 2x + 1
P(-1) = 3(-1)2 + (2)(-1) + 1 = 2
วันที่ 6 กันยายน 2556
ได้ความรู้ๆมากๆคับ
ReplyDeleteมีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในการเรียนได้
ReplyDeleteการแยกตัวประกอบมีหลายวิธี ได้ความรู้หลากหลาย
ReplyDelete...ได้รับความรู้ดีๆขึ้นเยอะเลย...^________________^
ReplyDeleteเนื้อหาสาระดีมากๆเลย ละเอียดมากๆ
ReplyDelete(a+b)
ReplyDelete(a+b)(a^2-ab+b2)
Delete