Sunday, September 15, 2013

ลำดับอนุกรม

วันที่ 14 กันยายน 2556
ลำดับอนุกรม

                     ลำดับ (Sequence) คือ ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นจำนวนเต็มบวก n ตัวแรก หรือ มีโดเมนเป็นจำนวนนับ
(หรือ กล่าวง่ายๆว่าลำดับ คือ ตัวเลขที่เรียงกันอย่างมีแบบแผน) ซึ่งเรามักจะนิยมใช้ตัวแปร n แทนตัวแปร x
สำหรับพจน์ที่ 1 ของลำดับเราจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ a1 และเขียนแทนพจน์ที่ n หรือ พจน์ทั่วไปของ
ลำดับด้วย an  การเขียนแสดงลำดับอาจเขียนได้ 3 วิธี คือ
- { (1 , a1) , (2 , a2) , (3 , a3) , ... , (n , an) } - a1, a2, a3, ... , an
 - เขียนแสดงเฉพาะพจน์ทั่วไป เช่น an = sin(n π )  เราสามารถแบ่งลำดับได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ลำดับจำกัด (finite sequence) คือ ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็น { 1 , 2 , 3 , 4 , ... , n } (มีจำนวนพจน์
เป็นจำนวนจำกัด) เช่น ลำดับ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 เป็นลำดับจำกัดที่มี 5 พจน์ หรือ 2 , 4 , 8 , 16 , 32 , ... , 2n
เป็นลำดับจำกัดที่มี n พจน์
- ลำดับอนันต์ (infinite sequence) คือ ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นจำนวนนับ N (มีจำนวนพจน์เป็นอนันต์)
 เช่น ลำดับ 1 , 4 , 9 , ... , n2, ...
ถ้าหากโจทย์กำหนดมาเฉพาะพจน์ทั่วไปของลำดับมาให้ และไม่ได้ระบุสมาชิกในโดเมน ให้ถือว่าลำดับนั้นเป็นลำดับอนันต์
1.1 ลำดับเลขคณิต (Arithmetic sequence)
 ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับที่มีผลต่างที่เกิดจากการนำพจน์ที่ n+1 ลบกับพจน์ที่ n ได้เป็นค่าคงตัว และ
เรียกค่าคงตัวนี้ว่า ผลต่างร่วม (d : common difference)


                                                                                                                                                                                                                        1.2 ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
 ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีอัตราส่วนที่เกิดจากการนำพจน์ที่ n+1 หารด้วยพจน์ที่ n ได้เป็นค่าคง
ตัว ตัว และเรียกค่าคงตัวนี้ว่า อัตราส่วนร่วม (r : common ratio)









No comments:

Post a Comment